ประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับ สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ของ รัฐนิยม

รัฐนิยม ฉบับที่ 1

เรื่องการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 โดยในวันที่ 28 กันยายน ปีเดียวกัน ให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามที่เรียกขานประชาชนว่าคนไทย ชื่อประเทศก็ควรเรียกว่า ประเทศไทย

รัฐนิยม ฉบับที่ 2

ประกาศไม่ให้คนไทยประพฤติตนเป็นตัวแทนของต่างชาติ และไม่ให้ขายที่ดินให้ต่างชาติโดยเด็ดขาด

รัฐนิยม ฉบับที่ 3

เรื่องการเรียกคนในประเทศว่า “คนไทย” แม้มีเชื้อสายอื่นก็ให้ถือว่ามีสัญชาติไทย มิให้แบ่งแยก เป็นความต่อเนื่องจากรัฐนิยมแบบแรก นั่นคือการเรียกชื่อว่า “ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ ไทยอิสลาม” ให้เรียกว่า “ไทย” โดยรวมเพื่อขจัดความแตกต่าง ซึ่งกำหนดให้เลิกเรียกชื่อชาวไทยโดยใช้ชื่อไม่ต้องตามเชื้อชาติ และนิยมของผู้เรียก แต่ให้ใช้คำว่า “ไทย” แก่ชาวไทยทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก ทั้งนี้รัฐบาลมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นดินมั่นคงของประเทศและความกลมเกลียวสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติไทยทั่วทุกภาคของประเทศ กล่าวได้นับว่านับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า “ชาวไทยมุสลิม” เป็นคนไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไปชนผืนแผ่นดินไทย มีข้อความว่าด้วยรัฐบาลเห็นว่า “การเรียกว่าไทย” บางส่วนไม่ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของผู้ถูกเรียกก็ได้ การเรียกชื่อแบ่งแยกคนไทยออกเป็นหลายพวก หลายเหล่า เช่น ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ และไทยอิสลาม ก็ดีไม่สมควรแก่สถานของประทศไทย ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้จึงประกาศไว้ในรัฐนิยมไว้ ดังนี้ 1 ให้เลิกการเรียกชาวไทยโดยใช้ชื่อที่ไม่ต้องตามเชื้อชาติและความนิยมของผู้เรียก 2 ให้ใช้คำว่า ไทย แก่ชาวไทยทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยกรัฐนิยมฉบับนี้ ซึ่งกำหนดให้เลิกการเรียกชาวไทยโดยใช้ ชื่อที่ไม่ต้องตามเชื้อชาติและความนิยมของผู้ถูกเรียก แต่ให้ใช้คำว่า “ไทย” แก่ชาวไทยทั้งมวล โดยไม่แบ่งแยก ทั้งนี้โดยรัฐบาลมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของประเทศและ ความกลมเกลียวสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนชาติไทยทั่วทุกภาคของประเทศ

รัฐนิยม ฉบับที่ 4

เรื่องการเคารพธงชาติ การร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี

รัฐนิยม ฉบับที่ 5

เรื่องให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย

รัฐนิยม ฉบับที่ 6

เรื่องทำนอง และเนื้อร้องเพลงชาติของไทย

รัฐนิยม ฉบับที่ 7

เรื่องชักชวนให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติ

รัฐนิยม ฉบับที่ 8

เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี

รัฐนิยม ฉบับที่ 9

เรื่องภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี ซึ่งกำหนดให้ชนชาติไทย ถือเป็นพลเมืองดีที่จะต้องศึกษาให้รู้หนังสือไทยอันเป็นภาษาของชาติอย่างน้อยต้องให้อ่านออก เขียนได้ และถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนแนะนำชักจูงให้พลเมืองที่ยังไม่รู้ ภาษาไทยหรือยังไม่รู้หนังสือไทยให้รู้ภาษาไทยหรือหนังสือไทยจนอ่านออกเขียนได้ ทั้งนี้เพื่อ ไม่ให้เกิดความแตกแยกและความแตกต่างของท้องที่ถิ่นกำเนิด

รัฐนิยม ฉบับที่ 10

เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย : กำหนดให้คนไทยต้องแต่งกายตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ว่าเป็นสุภาพชน เช่น ผู้ชายสวมหมวกใส่เสื้อชั้นนอกคอเปิดหรือปิด สวมกางเกงขายาวแบบสากล สวมรองเท้าหุ้มส้นและหรือหุ้มข้อ และถุงเท้า ส่วนผู้หญิงก็ต้อง สวมหมวก ใส่เสื้อนอกคลุมไหล่ สวมผ้าถุง ใส่รองเท้าหรือหุ้มส้นและถุงเท้า เป็นต้น

รัฐนิยม ฉบับที่ 11

เรื่องกิจประจำวันของคนไทย (ประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2484) โดยชนชาติไทยพึงบริโภคอาหารให้ตรงเวลา ไม่เกินวันละ 4 มื้อ และนอนประมาณ 6-8 ชั่วโมงต้องมุ่งมั่นทำงาน พักกลางวันไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีเวลาทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ทั้งชำระร่างกายแล้วจึงรับประทานอาหารว่าง ในเวลากลางคืนก็ควรใช้ในการพบปะสนทนาในครอบครัว มิตรสหาย ทั้งใช้ศึกษาหาความรู้ หรือในการมหรสพ ส่วนวันหยุดก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายและจิตใจ เล่นกีฬา พักผ่อน ทำบุญ ฟังเทศน์ เป็นต้น

รัฐนิยม ฉบับที่ 12

เรื่องการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก คนชรา หรือคนทุพพลภาพ ประกาศเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2485